Author Topic: ออกแบบ ปรับปรุงเครื่องเก่า  (Read 55624 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline somphop

  • Full Member
  • ***
  • Thank You
  • -Given: 16
  • -Receive: 126
  • Posts: 118
ผมซื้อก้านโต 20 mm ก็เพราะว่าหาแบริ่งง่ายอย่างนึงกับมันจับดอกได้โตสุด 13 mm  เอาไว้ใช้กับดอก ครึ่งนิ้วของเร้าเตอร์ ที่ราคาถูกได้ด้วยครับ ลองสเก็ตภาพออกมาแบบในรูป เปลี่ยนแบริ่งตัวล่างเป็นแองกูล่า สองตัว



Offline Weerasak

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 1476
  • -Receive: 3804
  • Posts: 2849
มันดูป้อมๆเป็นเพราะซื้อของมาได้ยังงี้คือยาว 100 มม

คุณสมภพซื้อแบริ่งมาหรือยังครับ คือสงสัยค่า tolerance ระหว่างวัสดุทั้งสองว่าจะฟิตกันพอดี หรือว่าหลวมนิดหนึงเพื่อสวมได้ง่าย หรือแน่นมาก

ตามรูปแบริ่งแองกูล่าจะต้องยึดตายกับแกนและมีฝาประกบอัดแบริ่งไว้เพื่อไม่ให้แกนขยับขึ้นลงได้ ถูกไม่ครับ? อย่างนี้ง่ายกว่าที่ผมจินตนาการ​ไว้เยอะเลย

หลักๆจะมีงานกลึงอยู่สองชิ้นคือกระบอกและฝาประกบ (ไม่นับพูลเลย์) เยี่ยมไปเลยครับ

วีระศักดิ์ :D

Offline kuad

  • Moderator.
  • Sr. Member
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 486
  • -Receive: 766
  • Posts: 398
    • http://hatyaicnc.blogspot.com/
คุณสมภพ ออกแบบรายละเอียดมากชิ้นดีจังเลยครับ ยังมี spacer อีก2ชิ้น รองระหว่างแบริ่งตัวบนด้วย
ออกแบบอย่างนี้ลดปัญหาการขันบีบอัดจนแกนหมุนฝืดได้ดี :o
 

ผมกะว่าจะบิท collet set มาซักชุดเหมือนกันครับ ราคารวมค่าส่งถูกกว่าไทยเป็นไหนๆ  ;)

Offline somphop

  • Full Member
  • ***
  • Thank You
  • -Given: 16
  • -Receive: 126
  • Posts: 118
ตอนนี้ยังไม่มีของในมือซักชิ้นเลยครับ การประกอบแบริ่งกับเพลาและ เฮ้าซิ่งลักษณะนี้ผมจะทำให้เป็นการสวม พอดีค่อนขางไปทางสวมคลอนครับ ไม่ได้สวมอัด คือใช้แรงเล็กน้อยในการกดเข้าไปครับ เผื่อตอนเปลี่ยนอะไหล่จะได้ไม่ต้องทุบ    แรงในแนวรัศมีและรุน จากดอกกัดรองรับด้วยแบริ่งแบบเชิงมุม 2 ตัวล่างครับ ส่วนตัวบน สามารถขยับขึ้นลงในเสื้อได้เผื่อรองรับการขยายตัวจากความร้อนของก้านเพลา เพื่อว่าจะได้กวดน็อตล็อกให้ฟิตพอดีไปเลยไม่ต้องกลัวว่าจะแน่นเกินไปตอนที่มันร้อนขึ้นหรือหลวมตอนเย็นลง

มีชิ้นส่วนที่เพิ่มเติมคือ oil seal ข้างบน และล่าง


Offline Weerasak

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 1476
  • -Receive: 3804
  • Posts: 2849
ใช่เลยตัวแปรความร้อน คาดไม่ถึงเลยนะเนี่ย ???

ไอเดียดีครับขังน้ำมันไว้ข้างในเพื่อหล่อเลี้ยงลูกปืน แต่ผมว่าน่าจะใช้ได้ไม่นานก็จะรั่วเพราะสปินเิดิลหมุนรอบจัดทำให้ O-ring ร้อนและสึกได้ง่าย

แต่ถ้ามีไว้กันฝุ่นก็น่าจะโอเค - หรือว่าคุณสมภพต้องการไว้กันฝุ่น

วีระศักดิ์ ;)
PS. ใช้ซอฟท์แวร์อะไรเขียนแบบครับ?

Offline somphop

  • Full Member
  • ***
  • Thank You
  • -Given: 16
  • -Receive: 126
  • Posts: 118
oil seal  เอาไว้กันฝุ่นครับ เพราะกะว่าจะใช้แบริ่งแบบมีฝาปิด จะได้ไม่ต้องคอยหยอดน้ำมัน ที่แรกก็คิดว่าจะทำจุกที่อัดจารบี ต้องดูอีกทีครับ ว่ามันจะหนืดเกินไปหรือปล่าว
ทั้งหมดเขียนด้วยออโต้แคดครับ

Offline thw

  • Jr. Member
  • **
  • Thank You
  • -Given: 51
  • -Receive: 71
  • Posts: 39
ลองดูแบบนี้หน่อยครับ
ใช้ได้มั๊ย

เอ  ใส่รูปตรงใหนน้อ...

Offline Weerasak

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 1476
  • -Receive: 3804
  • Posts: 2849
การฝากรูป ดูตามลิงค์ที่นี้ครับ

https://www.cncroom.com/forum/index.php/topic,15.0.html

วีระศักดิ์

Offline thw

  • Jr. Member
  • **
  • Thank You
  • -Given: 51
  • -Receive: 71
  • Posts: 39
การฝากรูป ดูตามลิงค์ที่นี้ครับ

https://www.cncroom.com/forum/index.php/topic,15.0.html

วีระศักดิ์


ไม่รู้สมัครสมาชิกตรงใหน

ดูตามนี้ละกัน





[edit] จัดการรูปภาพให้ครับ
« Last Edit: December 01, 2008, 10:21:48 PM by Weerasak »

Offline Weerasak

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 1476
  • -Receive: 3804
  • Posts: 2849
ถ้าให้เดา อันนี้น่าจะใช้ SolidWorks เขียนใช่มั่ยครับ

วีระศักดิ์

Offline Weerasak

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 1476
  • -Receive: 3804
  • Posts: 2849
Quote
ทุ่นเลาเตอร์ตัวใหญ่ที่ใหม้แล้ว ก็น่าจะใช้ได้นะ หาซื้อ(หรือ ขอเอา)ตามร้านซ่อมแถวบางโพ
ตามข้อความนี้หมายถึง หาซื้อเลาท์เตอรเก่าแถวบางโพได้อย่างงั้น ใช่มั้ยครับ

ถ้าพิจารณาทั้งสองแบบแล้ว แบบของคุณสมภพน่าจะแข็งแรงกว่าเพราะด้านล่างใช้แบริ่งคู่ ตรงจุดนี้เป็นจุดรับแรงเค้นในแนวระนาบขณะที่ทำการเราท์ แถมคุณสมภพได้คิดไกลถึงขนาดกันฝุ่น การยืดหดของแกนกลางเมื่อมีความร้อนเพิ่มขึ้น เสื้อทรงกระบอกง่ายต่อการกลึง ผนังนอกและในจะได้ศูนย์ต่อกันเพราะสามารถจับงานครั้งเดียวโดยไม่ปล่อย

การกลึงจะง่ายขึ้นถ้าได้กลึงยาวตลอดและใส่ spacer กั้นตรงกลางห้องบนกับล่าง สุดท้ายยึด spacer เข้าผนังกระบอกด้วยสลัก ไอเดียนี้คุณสมภพและคุณ kuad มีความเห็นยังไงครับ
 
แบบของคุณสมภพจะสวยมากและมีความ balance ยิ่งขึ้นถ้าได้แกนความยาวเป็น 150 มม
วีระศักดิ์

Offline kuad

  • Moderator.
  • Sr. Member
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 486
  • -Receive: 766
  • Posts: 398
    • http://hatyaicnc.blogspot.com/
แบบที่เขียนไม่น่าจะใช่ solidwork เพราะดูไม่คุ้นเลยครับ

เห็นด้วยกันคุณวีระศักดิ์ครับ กลึงทีเดียว แล้วใส่สเปเซอร์รับบ่านอกลูกปืน กลึงง่ายกว่า(ถ้าไม่ลึกเกินไป)
แต่ถ้าช่างกลึงมีความแม่นยำมากในการตั้งศูนย์ และมีเครื่องมือ ก็สามารถกลึงหัว - ท้ายได้  แต่หากศูนย์เยื้องแม้แต่นิดเดียวจะทำให้เกิดแรงฝืดมาก เวลาใช้งานส่งผลให้ความร้อนตามมาสูง

แบบของคุณสมภพ มาตรฐานสูงมาก คราวหน้าต้องขอลอกแบบไปใช้บ้างแล้ว ;D

Offline somphop

  • Full Member
  • ***
  • Thank You
  • -Given: 16
  • -Receive: 126
  • Posts: 118
ไอเดียทั้งหมดมาจากรูปของคุณขวด และ ในหลายๆเวบครับ เอามาปรับให้เข้ากับของที่ผมสั่งซื้อ  กำลังลุ้นว่าสนามบินจะเปิดได้เมื่อไหร่ ดูท่าจะยาว ตอนนี้เลยกลับไปเอา Die grinder มายึดแทนไปพลางๆก่อนครับ แต่ก็ต้องทำคอลเล็ท ขนาด 1/4"  กับ 1/8" เพิ่ม อีกสองอัน ของที่มากับเครื่องมัน 6 มม ต่างกันนิดเดียวเองแต่มันยัดไม่เข้าเลย
คุณ THW ใช้ sketch up เขียนหรือปล่าวครับ รูปสวยครับดูมีมิติดี


Offline thw

  • Jr. Member
  • **
  • Thank You
  • -Given: 51
  • -Receive: 71
  • Posts: 39
Quote
ทุ่นเลาเตอร์ตัวใหญ่ที่ใหม้แล้ว ก็น่าจะใช้ได้นะ หาซื้อ(หรือ ขอเอา)ตามร้านซ่อมแถวบางโพ
ตามข้อความนี้หมายถึง หาซื้อเลาท์เตอรเก่าแถวบางโพได้อย่างงั้น ใช่มั้ยครับ

ถ้าพิจารณาทั้งสองแบบแล้ว แบบของคุณสมภพน่าจะแข็งแรงกว่าเพราะด้านล่างใช้แบริ่งคู่ ตรงจุดนี้เป็นจุดรับแรงเค้นในแนวระนาบขณะที่ทำการเราท์ แถมคุณสมภพได้คิดไกลถึงขนาดกันฝุ่น การยืดหดของแกนกลางเมื่อมีความร้อนเพิ่มขึ้น เสื้อทรงกระบอกง่ายต่อการกลึง ผนังนอกและในจะได้ศูนย์ต่อกันเพราะสามารถจับงานครั้งเดียวโดยไม่ปล่อย

การกลึงจะง่ายขึ้นถ้าได้กลึงยาวตลอดและใส่ spacer กั้นตรงกลางห้องบนกับล่าง สุดท้ายยึด spacer เข้าผนังกระบอกด้วยสลัก ไอเดียนี้คุณสมภพและคุณ kuad มีความเห็นยังไงครับ
 
แบบของคุณสมภพจะสวยมากและมีความ balance ยิ่งขึ้นถ้าได้แกนความยาวเป็น 150 มม
วีระศักดิ์

ขอบคุณครับที่ทำที่ฝากไฟล์ให้ครับ

ตามข้อความนั้น ผมหมายถึงเฉพาะทุ่นครับ
เป็นทุ่นที่ขดลวดทองแดงใหม้แล้ว แล้วเจ้าของเขาก็เอาไปให้ช่างเปลี่ยนทุ่นตัวใหม่

ทุ่นตัวเก่าบางตัวเกลียวก็ยังดีอยู่เลยครับ(ผมเคยเปลี่ยนหลายครั้งแล้ว แต่ไม่ได้เก็บทุ่นเก่าไว้  เสียดายจัง)

ตอนไปหาของต้องดูดีๆนะครับ ตรงเบ้าที่ล็อคดอกเลาเตอร์ของทุ่นบางตัว อาจจะแตกมาก่อน
จะทำให้ล็อคดอกเลาเตอร์ไม่แน่นครับ

ปล.  รูปนั้นผมใช้โปรแกรม Sketch Up เขียนครับ มีเวอร์ชั่นฟรีให้โหลดมาใช้ด้วย
แต่ถ้าเป็นเวอร์ชั่นเต็ม จะสามารถ Export เป็นไฟล์ cad ได้ด้วย
ใช้งานง่ายครับ แค่วันเดียว ดูแค่ตัวอย่างในโปรแกรม ก็สามารถเขียนงานง่ายๆได้แล้ว

Offline Weerasak

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 1476
  • -Receive: 3804
  • Posts: 2849
ผมเคยติดปัญหาเรื่องคอลเล็ท นำตัวอย่างที่ติดมากับสปินเดิลซึ่งเป็นสี่แฉกไปจ้างโรงกลึงทำขนาดอื่นที่เราต้องการ  ปรากฎว่าเค้าทำขึ้นมาแล้ว และทำการชุบแข็ง ปรากฎว่าเสียรูปใช้การไม่ได้

ตอนนี้เลยกลับไปเอา Die grinder มายึดแทนไปพลางๆก่อนครับ แต่ก็ต้องทำคอลเล็ท ขนาด 1/4"  กับ 1/8" เพิ่ม อีกสองอัน ของที่มากับเครื่องมัน 6 มม ต่างกันนิดเดียวเองแต่มันยัดไม่เข้าเลย

คุณสมภพพูดถึงว่าต้องทำคอลเล็ทขนาด 1/4", 1/8" ผมจึงสงสัยว่าเราสามารถทำขึ้นมาเองได้ไหม่ อยากทราบขั้นตอนนะครับ

วีระศักดิ์ :)

 

SimplePortal 2.3.7 © 2008-2024, SimplePortal